สังคมศึกษา

หน้าที่ของการตลาด
การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้
• แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์
• เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์
• สนองความต้องการอุปสงค์

ประเภทและลักษณะของตลาด

ประเภทของตลาด ลักษณะของตลาด ตัวอย่างสินค้า

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากแต่สินค้าจะมีน้อย โดยที่สินค้าจะมีลีกษณะเดียวกัน ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องรู้ถึงสภาวะของตลาด โดยที่จะมีการขนส่งโดยสมบูรณ์ หน่วยธุรกิจสามารถเข้าออกจากธุรกิจโดยเสรี ข้าว ข้าวโพด

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีอิสระในการเลือกซื้อ แต่ชนิดสินค้าที่ผลิตจะต่างมาตรฐานและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ผู้ขายสามารถกำหนดราคาได้ตามต้องการทั้งๆที่ต้องแข่งขันกับคู่ค้ารายอื่น เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายรองเท้า ร้านขายสบู่ยาสระผม และร้านขายยาสีฟัน แปรงสีฟัน

ประเภทของตลาด ลักษณะของตลาด ตัวอย่างสินค้า

ตลาดผู้ขายน้อยราย มีผู้ขายไม่กี่รายแต่จะมีสินค้าจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด หากผู้ขายรายใดเปลี่ยนแปลงราคาหรือนโยบายการขายแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรายอื่น
น้ำมัน หนังสือพิมพ์ น้ำอัดลม ตลาดแบบผูกขาด มีผู้ขายเพียงรายเดียว ทำให้ผู้ขายมีสิทธิเหนือราคาและปริมาณขายสินค้า โดยจะเพิ่มหรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายได้ทั้งหมดไฟฟ้า ประปา รถไฟ โรงงาน ยาสูบ

กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ

1. กลไกราคา

กลไกราคา หมายถึง ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่น เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นกลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด

2. การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี คือ

1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน
2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและบริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน

3. อุปสงค์ (Demand)

อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลังซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์
3.1 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) หมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ(ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง(ราคาแพง)
3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ราคาสินค้าและบริการ (ตามกฎของอุปสงค์)
2. รายได้ของผู้บริโภค
3. รสนิยมของผู้บริโภค
4. สมัยนิยม
5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด
6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้
7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
8. พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ฤดูกาล การศึกษา
9. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ

ที่มา :  https://th.wikibooks.org/wiki/กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น