วิทยาศาสตร์




พันธุศาสตร์( Genetics )


Image result for พันธุศาสตร์( Genetics )
ลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกัน  รุ่นลูกหลานจะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ ปู่ย่า หรือตายาย แสดงว่าลักษณะเหล่านั้นมีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้เป็น  ลักษณะทางพันธุกรรม
                พันธุกรรม (Gene)  หมายถึง หน่วยที่มีคุณสมบัติควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
                พันธุศาสตร์ (Genetic )  หมายถึง  วิชาวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง
ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์  สิ่งมีชีวิต สปีชีส์เดียวกันย่อมมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน  ความแตกต่างเหล่านี้เป็นผลจากพันธุกรรมที่ต่างกัน
ความแตกต่างเนื่องจากพันธุกรรมที่ต่างกันเรียกว่า
     ความแปรผันทางพันธุกรรม  (genetic variation)
ลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรม
ลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.  ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันแบบต่อเนื่อง (continuous variation) เป็นลักษณะที่ไม่สามารถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน  ถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่   เช่น   ความสูง  สีผิวของคน น้ำหนักของคน  ฯลฯ
2.  ลักษณะทางพันธุกรรมที่แปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)  เป็นลักษณะที่สามรถแยกเป็นกลุ่มได้ชัดเจน  เช่น  มีติ่งหู/ไม่มีติ่งหู  หนังตาชั้นเดียว/หนังตาสองชั้น  หมู่เลือดของคน  ห่อลิ้นได้/ห่อลิ้นไม่ได้ ฯลฯ

ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิต   มิใช่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่แตกต่างกันเท่านั้น  ส่วนหนึ่งยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมด้วย  เช่น  ความสูงจะได้รับอิทธิพลจากอาหารที่กินด้วย  ฯลฯ
                                               ลักษณะสิ่งมีชีวิต =  พันธุกรรม + สิ่งแวดล้อม



บทที่ 16  การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

16.1 การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล
บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ คือ  เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel)
                -  เกิดปี พ.ศ. 2365 เมืองไฮเซนดอร์ฟ  ประเทศออสเตรีย
                -  เป็นนักบวชในโบสถ์แห่งหนึ่ง
                -  ทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตา จนค้นพบกฎของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ธรรมชาติของถั่วลันเตา (Pisum sativum)
1.  อายุสั้น  ปลูกง่าย  ผลดก
2.  มีหลายพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างเด่นชัด และสามารถหาพันธ์แท้ได้ง่าย (พันธุ์ที่เหมือนพ่อแม่)
3.  ดอกมีลักษณะพิเศษ ที่สามารถบังคับให้ละอองเรณูผสมกับไข่ในดอกเดียวกันเท่านั้น  ผสมข้ามดอกยาก
ลักษณะที่นำมาศึกษา
1.  รูปร่างเมล็ด                                   กลม/ขรุขระ
2.  สีเมล็ด                                             เหลือง/เขียว
3.  สีของดอก                                       สีม่วง/สีขาว
4.  รูปร่างฝัก                                        อวบ/แฟบ
5.  สีของฝัก                                          เขียว/เหลือง
6.  ตำแหน่งของดอก                          ที่กิ่ง/ปลายยอด
7.  ความสูง                                          สูง/เตี้ย
การทดลองของเมนเดล
ทดลองผสมพันธ์โดยศึกษาลักษณะใดลักษณะหนึ่งเพียงอย่างเดียว  เรียกว่า  ผสมโดยพิจารณาหนึ่งลักษณะ(monohybrid cross)
  นำลักษณะที่แตกต่างกันมาผสมกัน แล้วเก็บเมล็ดไว้
 นำเมล็ดมาปลูกเป็นรุ่นที่ 1  สังเกตลักษณะของลูกที่เกิดขึ้น
 นับจำนวน บันทึกผล
 ปล่อยให้ผสมกันเอง เก็บเมล็ด
 นำเมล็ดมาปลูก เป็นรุ่นที่ 2  บันทึกผล


ที่มา :  http://vivattanakan.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น